เมนู

ปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[728] 1. ธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาส-
ธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาส-
ธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
2. ธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็น
ธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งปรามาสธรรมและปรามัฏฐธรรม
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ปรามาสธรรม อำนาจของเหตุปัจจัย.
3. ธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาส-
ธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งปรามาสธรรม และปรามัฏฐธรรม
และธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม ด้วยอำนาจ
ของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และปรามาสธรรม และจิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

[729] 1. ธรรมที่เป็นทั้งปรามาสธรรม และปรามัฏฐธรรม
เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งปรามาสธรรมและปรามัฏฐธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย

มี 3 วาระ พึงกระทำว่าปรารภ เหมือนกับปรามาสทุกะ.
4. ธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาส-
ธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาส-
ธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ กระทำอุโบสถกรรม แล้ว
พิจารณากุศลธรรมนั้น ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภกุศลกรรม
นั้น ราคะ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌาน ฯลฯ
พระอริยะทั้งหลายพิจารณาโคตรภู, พิจารณาโวทาน, กิเลสที่สะสม
แล้ว ฯลฯ กิเลสที่ข่มแล้ว ฯลฯ กิเลสทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน ฯลฯ
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปรา-
มัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส
ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพย์จักษุ ตลอดถึงอาวัชชนะ พึงกระทำทั้งหมด.
5. ธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาส-
ธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งปรามาสธรรม และปรามัฏฐธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌาน ฯลฯ
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปรา-
มัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะ
ปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ทิฏฐิ ฯลฯ
6. ธรรมที่ปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาส-
ธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งปรามาสธรรมและปรามัฏฐธรรม
และธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม ด้วยอำนาจ
ของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌาน ฯลฯ
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
ปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ปรามาสธรรม
และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
ทั้ง 3 วาระแม้นอกนี้ พึงกระทำว่า เพราะปรารภ.
ทุกะนี้ เหมือนกับปรามาสทุกะ โลกุตตระไม่ได้ในที่ใด ก็ไม่พึง
กระทำในที่นั้น.
ปรามาสปรามัฏฐทุกะ จบ

54. ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐทุกะ


ปฏิจจวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[730] 1. ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐธรรม อาศัยปรามาส-
วิปปยุตตปรามัฏฐธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นปรามาส-
วิปปยุตตปรามัฏฐธรรม ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ
2. ปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐธรรม อาศัยปรามาส-
วิปปยุตตอปรามัฏฐธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

ฯลฯ
โลกิยทุกะในจูฬันตรทุกะฉันใด พึงกระทำฉันนั้น ไม่มีแตกต่างกัน.
ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐทุกะ จบ
อนุโลมทุกปัฏฐาน จบ